Support
smartmaterial
0818318827
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ลักษณะโดดเด่นของฉนวนกันความร้อน

วันที่: 2012-04-25 19:18:58.0

ฉนวนกันความร้อน

โพลียูรีเทนโฟม P.U.Foam

          1. รูปแบบทางกายภาพ  ฉนวนกันความร้อน P.U.Foam ขึ้นรูปตามวัสดุหรือชิ้นงานที่พ่น เช่น พ่นติดกับวัสดุที่เป็นกระเบื้อง ก็จะขึ้นลอดตามรูปกระเบื้อง ถ้าอัดแบบตามรูปทรงที่กำหนด ก็จะได้ตามความต้องการรูปแบบทางกายภาพของฉนวนกันความร้อนมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานได้ตามต้องการ เช่น ฉนวนแบบคลุมห่ม แบบแผ่น แบบพ่น แบบฉีด ฯลฯ การเลือกใช้ฉนวนจะต้องคำนึงถึงลักษณะใช้งาน และตำแหน่งที่ติดตั้ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ความแข็งแรง คงทน ร่วมด้วย ตัวอย่างการเลือกใช้งานฉนวนที่มีรูปแบบทางด้านกายภาพแตกต่างกัน เช่น ใช้ฉนวนโฟมชนิดพ่นสำหรับด้านบนหลังคา ผนังภายนอก หรือพ่นภายในอาคาร

 

          2.  ความแข็งแรงทน และความหนาแน่น  ฉนวนกันความร้อน P.U.Foam ไม่ยุบตัวเมื่อมีแรงกดทับ มีความหนาแน่น 35 - 40 กก/ลบ.ม. เป็นโฟมแข็งเรียกว่า ริจิคโฟม ไม่อุ้มน้ำเมื่อโดนฝน หรือหลังคารั่ว ไม่เสื่อมสลายในสารละลายทุกชนิด มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเท่ากับอายุของหลังคา ความสามารถของฉนวนในการทนทานต่อแรงด่างๆ หลายรูปแบบ ดังนี้

             P.U.Foam สามารถรับน้ำหนัก และแรงอันได้

             P.U.Foam มีความต้านทานต่อแรงดึงและแรงเฉือน

             P.U.Foam ทนต่อแรงกระแทก และแรงสั่นสะเทือน

             P.U.Foam ทนต่อการบิดงอ

             ซึ่งความสามารถดังกล่าวของฉนวนจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบความหนาแน่น ขนาดของเซลล์ ขนาดและการจัดเรียงตัวของเส้นใยชนิดของฉนวด และปริมาณของตัวประสาน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแและสภาพแวดล้อมในการใช้งาน

          3.   การกั้นไฟ และไม่ลามไฟ  มีส่วนผสมของสารไม่ลามไฟ Fire retardant ไม่เป็นเชื้อไฟเมื่อโดนไฟเผา จะไหม้เฉพาะส่วนเท่านั้น เมื่อมีไฟฟ้าลัดวงจรอันตรายจากไฟไหม้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการใช้ฉนวนภายในอาคาร เพราะฉนวนที่กันความร้อนได้ดี อาจมีคุณสมบัติการกันไฟไม่ดี สำหรับบางส่วนของอาคาร เช่น ห้องครัว หรือห้องที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความร้อน การกันไฟไหม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาว่าการเผาไหม้ของฉนวนก่อให้เกิดสารพิษมากน้อยขนาดไหน ฉนวนที่กันไฟได้ดี ได้แก่ โฟมพียูผสมสารไม่ลามไฟ fireratard ใยแก้ว fribre glass ใยหิน rock wool ใยแร่ mineral แคลเซียมซิลิเกต calciu silicate และเวอร์มิคูไลท์ vermiculite เป็นต้น

          4.  ป้องกันการรั่วซึม  P.U.Foam สามารถอุดรอยรั่วของหลังคาที่แตก หรือผนังคอนกรีตที่แตกร้าวได้ เพราะโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด น้ำจะซึมผ่านไม่ได้ และไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรค เชื้อราได้

          5.  ติดตั้งง่าย

          6. การลงทุนที่คุ้มค่ากว่า