วันที่: 2013-09-11 10:18:38.0
หน้าที่หลัก ๆ ของฉนวนกันเสียงนั้นจะทำหน้าที่ในการดูดซับเสียงเป็นหลัก ดังนั้นการติดตั้งก็เพื่อที่จะทำการควบคุมการสะท้อนของเสียงที่อยู่ภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นสตูดิโอ, โรงภาพยนต์, ห้องกระจายเสียง, ห้องร้องเพลงคาราโอเกะ หรือห้องอื่นๆ ที่ต้องมีการควบคุมเสียงเอาไว้ ดังนั้นจึงต้องรู้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของฉนวนและก็จะต้องรู้ถึงสัดส่วนที่เสียงนั้นถูกดูดซับไปด้วย
Sound Absorption Coefficient หรือ SAC : จะเป็นสัดส่วนของเสียงที่ถูกดูดซับไปเมื่อเดินทางไปกระทบกับผนังที่เป็นฉนวนกันเสียงหรือวัตถุอื่นๆ โดยจะเทียบกับเสียงที่ต้นกำเนิด อย่างเช่นว่า ฉนวนชนิดหนึ่งมีค่า SAC อยู่ที่ 0.95 ก็จะหมายความว่า 95% ของเสียงที่มากระทบจะถูกดูดซับเอาไว้ด้วยฉนวนนี้ และอีก 5% ที่เหลือก็จะสะท้อนออกมา ค่าที่ได้จากการดูดซับเสียงนั้นของแต่ละวัสดุจะแปรผันกับความถี่ของเสียงที่เดินทางไปตกกระทบ ดังนั้นค่าของการดูดซับเสียงนี้ก็จะได้รับการวัดที่หลากหลายความถี่ เช่่น 50, 100, 250, 500, 1,000 เฮิร์ส เป็นต้น ซึ่งความถี่นี้จะอยู่ในช่วงตรงกลางของเสียง
Noise Reduction Coefficient หรือ NRC : เป็นค่าของจำนวนเลขที่บอกได้ถึงขีดความสามารถในการดูดซับเสียงของวัตถุ โดยจะเป็นค่าเฉลี่ยของ SAC ซึ่งก็จะทำการวัดที่ค่า 250, 500, 1,000 และ 2,000 เฮิร์ส แล้วทำการปัดเศษให้ไปอยู่ที่ 0.05 และโดยปกติแล้วนั้นค่า NRC จะต้องมากกว่า 0.40 จึงจะถือได้ว่าวัตถุนั้นเป็นวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ การเกิดรูพรุนในวัสดุจะทำให้เสียงผ่านเข้าไปได้มากดังนั้นแล้ว ฉนวนกันเสียงจึงมีรูพรุนอยู่ในเนื้อวัสดุอยู่มากมายเพื่อใช้เป็นโพรงอากาศให้เสียงได้ผ่านเข้าไปอาศัยอยู่แล้วก้จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานความร้อนแทน
|
|
|